ด่วนรับสมัครเยาวชน อายุ 8-12ปีเข้าค่ายเยาวชนฤดร้อนในวันที่ 19- 23เมษายน2552รับสมัครแค่ 20 ท่านเท่านั้น

ประวัติห้องสมุด


ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองราชบุรี




 ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

ห้องสมุดประชาชน”เฉลิมราชกุมารี” อำเภอเมืองราชบุรี สร้างขึ้นในวโรกาสอันเป็นมิ่งมงคลที่องค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา เมื่อปี พ.ศ. 2534 กระทรวงศึกษาธิการได้รับพระราชานุญาติให้ดำเนินการจัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติและสนองแนวทางพระราชดำริในการส่งเสริมการศึกษาสำหรับประชาชนและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิด เมื่อวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2537 เป็นอันดับที่ 45 ของประเทศ

วิสัยทัศน์

ห้องสมุดประชาชนจะเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตให้บริการประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนรักการอ่านและการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

พันธกิจ

1.พัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต


2.พัฒนาห้องสมุดโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการให้บริการ


3.พัฒนาห้องสมุดประชาชนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ในชุมชน
เป้าหมาย

1. ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร

2. ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน

3. ห้องสมุดเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ของสถานศึกษา

สถานที่ตั้ง

ตั้งอยู่ถนนอำเภอ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดราชบุรีและแวดล้อมไปด้วยหน่วยงานทางราชการ สถานศึกษา และชุมชน โทรศัพท์ 032 -337791 โทรสาร 032-322984 E-mail : rbcity2000@hotmail.com

ลักษณะอาคาร เป็นอาคาร 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 415 ตารางเมตร ขนาดที่ดิน 1 ไร่ 1 งาน 77 ตารางวา

ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 15 ปี

   จำนวนสมาชิกห้องสมุดปีงบประมาณ 2552 ( 1 ตุลาคม 2551– 30 กันยายน 2552) มีทั้งหมด 1,848 คน
     จำนวนผู้ใช้บริการเฉลี่ยต่อวันในปีงบประมาณ 2552 เท่ากับ 235 คน
      ทรัพยากรห้องสมุด (จำนวนสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์)



ลำดับ รายการทรัพยากร จำนวน

1 คอมพิวเตอร์ให้บริการอินเทอร์เน็ต 6 ชุด

2 คอมพิวเตอร์ให้บริการยืม – คืน 1 ชุด

3 คอมพิวเตอร์ใช้พิมพ์งาน 1 ชุด

4 คอมพิวเตอร์ควบคุมไฟวิ่ง 1 ชุด

5 จานรับสัญญาณดาวเทียมไทยคม 1 ชุด

6 โทรทัศน์ จอแอลซีดี 1 เครื่อง

7 เครื่องเล่นวีซีดี 1 เครื่อง

8 ชั้นวารสาร

9 ชั้นหนังสือ

10 ตู้รับคืนหนังสือ 24 ชั่วโมง 1 ตู้

11 โทรศัพท์ 1 เครื่อง

12 ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง

13 หนังสือ (ทุกประเภท) 11,913 เล่ม

14 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 1,053 แผ่น

15 โต๊ะอ่านหนังสือพร้อมเก้าอี้ 7 ชุด









บุคลากรปฏิบัติงาน 3 คน ประกอบด้วย

1.นางวิไลวรรณ สุนทรีประสิทธิ์ ตำแหน่ง ครู ค.ศ.2 ชำนาญการ (ที่ปรึกษาและหัวหน้างานห้องสมุด)

2.นางสาวสุมารี พลจันทร์ ตำแหน่งบรรณารักษ์ปฏิบัติการ (บรรจุเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552)

3.นางศิริพรหม  ยิ้มพูลทรัพย์ ตำแหน่งบรรณารักษ์อัตราจ้าง ทำหน้าที่บริการ











คณะกรรมการห้องสมุด 10 คน (ชุดเดียวกับคณะกรรมการสถานศึกษา) ประกอบด้วย

1. นายเรืองศักดิ์ เลขวัฒนะโรจน์

2. นาย

3. นาย

4. นาย

5. นายสมพร เสียงเพราะ

6. ว่าที่ร้อยตรีอุดม อนุกูล

7. พันโทสุพจน์ ไกรศักดาวัฒน์

8. นางสุมาลี อิ่มสวาสดิ์

9. ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองราชบุรี

10. นางบังอร แก้วสมบูรณ์

วิธีการ

1. ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสาร คือ การปรับปรุงรูปแบบการจัดเตรียมข้อมูลและสื่อที่มีอยู่แล้วให้เป็นระบบ พัฒนาระบบสารสนเทศ การจัดซื้อ จัดหาสื่อเพิ่มเติม ตลอดจนการบริการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ประชาชนที่มาใช้บริการได้รับข่าวสารข้อมูลและเกิดความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องทันเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดความสนใจให้ประชาชนมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอและสามารถนำไปพัฒนาการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้น

2. ห้องสมุดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน คือ มีการวางแผน และประสานเครือข่ายให้มาร่วมจัดอย่างมีระบบ เช่น การจัดการเรียนหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาในห้องสมุด การฝึกอบรมระยะสั้น เช่น ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ศิลปะ ฯลฯ

3. การพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมชุมชน คือ การปรับปรุงทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกให้สะอาด ร่มรื่น สะดวก สบาย น่าดู การบริการดี มีการเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลายให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ผู้เข้ามาใช้บริการพึงพอใจ

4. การพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน คือ การประสานงานการเป็นเครือข่ายการเรียนรู้โดยนำระบบการให้บริการมาใช้แบบเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ที่ว่าการอำเภอ ศูนย์การเรียนชุมชน พิพิธภัณฑ์ฯลฯ ให้มีการเชื่อมโยงในเรื่อง สถานที่ ข้อมูล ความร่วมมือและทรัพยากรให้ใช้ร่วมกันได้















กลยุทธ์เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์

กลยุทธ์ที่ 1

พัฒนาระบบบริหารจัดการ กลยุทธ์ที่ 2

ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน กลยุทธ์ที่ 3

ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

1.บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

2.ลดขั้นตอนการให้บริการ

3.พัฒนาอาคารสถานที่

4.พัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร

5.เพิ่มอัตรากำลังบุคลากร 1.มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเป็นเครือข่ายการจัดการความรู้

2.อบรม ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประสานความร่วมมือเพื่อการดำเนินงานร่วมกัน

3.การมีส่วนร่วมของชุมชน/ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 1.จัดหาพัฒนาสื่อ สื่อสิ่งพิมพ์/อิเล็กทรอนิกส์/บุคคล

2.จัดกระบวนการเรียนรู้

ตามอัธยาศัยจากสื่อ

3.พัฒนารูปแบบกิจกรรม

บูรณาการได้

4.วิจัยและพัฒนาถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรม





11. รางวัลหรือการเชิดชูเกียรติที่เคยได้รับจากหน่วยงาน

11.1 เกียรติบัตรผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศตามโครงการประกวดและส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ด้านการอ่าน TK PARK LIVING LIBRARY AWARD จากอุทยานการเรียนรู้ TK PARK

11.2 โล่เชิดชูเกียรติเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ ประเภทห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

11.3 ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 5 ของประเทศเพื่อดำเนินการโครงการพัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิตในปีงบประมาณ 2548 ด้วยเงินงบประมาณ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)



12. สถานศึกษาที่จัดส่ง

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองราชบุรี สังกัดสำนักงาน กศน. จังหวัดราชบุรี